พิธีขันหมาก หรือ พิธีแห่ขันหมากเป็นพิธีที่จัดต่อจาก พิธีทำบุญเลี้ยงพระและพิธีหมั้น ในช่วงเช้า ซึ่งพิธีการแห่ขันหมากเป็นการสู่ขอความรักของชายหนุ่มต่อหญิงสาว เป็นขนบธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบทอดกันตั้งแต่คร้ังสมัยโบราณ อีกทั้งยังถือเป็นเครื่องแสดงความเคารพ ต่อพ่อแม่ฝ่ายเจ้าสาวและสื่อใหเ้ห็นว่าฝ่ายเจ้าบ่าวยกย่องและให้เกียรติสู่ขอฝ่ายเจ้าสาว ตามประเพณีส่วนฝ่ายเจ้าสาวเองก็ยินดีต้อนรับเจ้าบ่าวเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัว
ขันหมากหมั้น
เป็นขันหมากที่ฝ่ายชายเป็นผู้จัดเตรียมใหก้บฝ่ายหญิงโดยส่วนมากนิยมเป็น ขันเงินหรือขันทอง ภายในขันประกอบด้วยหมากและของหมั้นตามที่ตกลงกันไว้ หมากดิบ 8 ผล ซึ่งจะต้องติดทั้ง 8 ผล หรือตัดเป็นคู่ๆ ละ 2 ผล ฝานก้นหมากทุกผลแล้วทาก้นหมากด้วยปูนแดง หรือชาดแดง พลู 4 เรียง ๆ ละ8 ใบ ถั่วเขียว 1ถุง ข้าวเปลือก 1 ถุง งาดำ 1 ถุง ข้าวตอก 1 ถุง ใบเงิน ใบทอง ใบนาก เมื่อนำมา ใส่ขันเรียบร้อยแล้ว จึงนำผ้ามาคลุม ในพิธีหมั้นจะมีเพียงขันหมากหมั้น ตามที่กล่าวมาข้างต้น


ส่วนพานขันหมาก 12 คู่ มีอะไรบ้าง ไปเตรียมกันเลยค่ะ
1. พานขันหมากเอก
2. พานสินสอด
3. พานแหวนหมั้น
4. พานธูปเทียนแพ
5-6. พานขนมมงคล 9 อย่าง (2พาน)
7-8.พานขนมมงคล 9 อย่าง (2พาน)
9-10.พานขนมเปี๊ยะ (2พาน)
11. พานผลไม้ (ส้มโอ 2 พาน)
12.ต้นกล้วย-ต้นอ้อย (อย่างละ 2 ต้น)

