การจดทะเบียนสมรส หมายถึง การตกลงระหว่างคู่รักสองคน ที่ตกลงจะจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งชาย-หญิงที่จะจดทะเบียนสมรส สามารถจดทะเบียนสมรสก่อนแต่งงาน หลังแต่งงาน หรือยังไม่แต่งงาน ได้ทั้งนั้น ขอแค่ชายและหญิงมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนด

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
1.ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์
2.ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิง มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้
3.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ (หรือคนบ้านั้นเองค่ะ)
4. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา (ลูกติดพ่อหรือลูกติดแม่)
5. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น จะเป็นการสมรสซ้อนถือว่าผิดศิลธรรมและกฎหมายค่ะ
6.ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
7. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
-คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
-สมรสกับคู่สมรสเดิม
-มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
-ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
-มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
การจดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ
1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ของชายและหญิงค่ะ
2.ทะเบียนบ้านตัวจริงของชายและหญิงค่ะ (เจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบและทำการแก้ไขข้อมูลค่ะ)
3.พยาน 2 คน (พร้อมบัตรประชาชนของพยานด้วย) ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
4.ถ้าเคยหย่ามาก่อน ต้องพกหลักฐานการหย่าไปด้วยนะคะ
5.กรณีคู่สมรสคนก่อนหน้าเสียชีวิต ต้องมีหลักฐานการตาย เช่น ใบมรณบัตร ประกอบด้วยค่ะ
6.ชาวต่างชาติใช้สำเนาหนังสือเดินทางประกอบด้วย
7.ชาวต่างชาติต้องใช้หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย พร้อมแปล
กรณีชาย-หญิงใช้ชื่อ-สกุลเดิม คำนำหน้าเดิม ไม่ต้องถ่ายบัตรประชาชนใหม่ค่ะ แต่หากหญิงเปลี่ยนนามสกุลหรือคำนำหน้า ต้องถ่ายบัตรประชาชนใหม่ด้วยนะคะ และเสียค่าทำเนียมการทำบัตรประชาชนใหม่ 100 บาท ค่ะ และอย่าลืมแต่งตัวสวยๆเตรียมพร้อมในการถ่ายบัตรประชาชนใหม่ด้วยค่ะ
ค่าธรรมเนียม
-การจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่สำนักทะเบียนจดทะเบียน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
-การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ – ส่ง ให้นายทะเบียนและอย่าลืม นัดเวลาให้ตรงกันด้วยค่ะ นายทะเบียนจะได้ไม่ต้องรอนาน