การแต่งงานแบบไทยโบราณ
การสู่ขอ
เป็นขั้นตอนแรกก่อนที่จะมีงานแต่ง เถ้าแก่ฝ่ายชายจะไปพบกับญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเพื่อเจรจาสู่ขอ ซึ่งถ้าเป็นสมัยโบราณจำเป็นต้องใช้วาจาที่มีความไพเราะ เมื่อการเจรจาจบด้วยดีก็จะมีการว่าถึงสินสอดทองหมั้น หาฤกษ์งามยามดี ปกติถ้าเป็นสมัยก่อนผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมักมีการผัดผ่อนในครั้งแรกไปก่อนเพื่อดูเชิง จากนั้นจะมีการพูดคุยกันใหม่และแจ้งผลการสู่ขอ หากราบรื่นดีก็เตรียมพิธีการหมั้นและหาฤกษ์ต่างๆ ได้เลยค่ะ
ขั้นตอนพิธีแต่งงานแบบไทยโบราณ
พิธีสงฆ์
บ่าวสาวต้องนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ในช่วงเช้าก่อนวันจัดงานแต่งงานหนึ่งวัน ซึ่งนิยมนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นจำนวนคู่ และในวันที่ประกอบพิธีแต่งงานต้องมีพิธีการตักบาตรร่วมกันในช่วงเช้า ส่วนใหญ่นิยมนิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป เพราะถือว่าเลข 9 เป็นสิรมงคลทำให้การงาน ชีวิตเจริญก้าวหน้าต่อไป
พิธีแห่ขันหมาก
เจ้าบ่าวต้องนำขบวนขันหมากเอกและขันหมากโทเคลื่อนขบวนไปสู่ขอเจ้าสาวตามสถานที่แต่งงาน ที่ตกลงกันไว้ ส่วนเจ้าสาวจะต้องมองหาญาติเพื่อมาเป็นตัวแทนมาถือพานขันหมาก และรับขันหมากเอก ขันหมากโทกับญาติฝ่ยเจ้าบ่าว เพื่อประกอบพิธี ขั้นตอนต่อไป ซึ่งในสมัยพิธีแต่งงานแบบไทยโบราณ พิธีแห่งขันหมากยังคงเป็นพิธีการที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียวค่ะ
พิธีรดน้ำสังข์
พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพร หรือพิธีรดน้ำสังข์ เป็นพิธีที่ขาดไม่ได้ในการจัดงานแต่งงานแบบไทยโบราณ เนื่องจากคนไทยมีความเชื่อว่า ถ้าคู่บ่าวสาวได้รับน้ำที่ออกมาจากสังข์จะเป็นการอวยพรให้คู่บ่าวสาวมีความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตคู่ ขั้นตอนพิธีการก็ให้คู่บ่าวสาวจุดธูปบูชาพระรัตนตรัย และขึ้นไปนั่งเตรียมพร้อมบนเก้าอี้ ที่จัดเตรียมไว้ เมื่อประธานดำเนินพิธีสวมมงคลแฝดและเจิมหน้าผากแก่คู่บ่าวสาว ผู้ใหญ่จะทำการรดน้ำสังข์แก่คู่บ่าวสาวโดยเรียงลำดับตามความอาวุโส ปิดท้ายด้วยการถอดมงคลแฝด และกล่าวอวยพรโดยประธานดำเนินพิธี
พิธีส่งตัวเข้าหอ
ในงานแต่งงานแบบไทยโบราณ ขั้นตอนสุดท้าย ผู้ใหญ่ของคู่บ่าวสาวที่มีชีวิตครอบครัวสมบูรณ์เป็นที่เคารพในสังคมจะต้องเป็นผู้ทำพิธีปูที่นอนในห้องหอแก่คู่บ่าวสาว โดยให้เรียงหมอน 2 ใบ จากนั้นจัดวางข้าวของประกอบพิธีลงบนที่นอน และให้บ่าวสาวนอนในเรือนหอ หรือห้องที่จัดเตรียมไว้

